คำแนะนำนี้อาจใช้ได้สำหรับหลายคน แต่มีอีกหลายคนไม่แน่ใจ ว่าจะทำได้หรือไม่
ถ้ามุ่งประเด็นที่ “ใจ” ของเรา อยู่อย่างใจสงบ อิสระจากการถูกมัดจากเรื่องภายนอก
คิดว่าทุกอย่างที่เป็นเงื่อนไขที่เกิดขึ้น ควรปฏิบัติดังนี้
1. มองโลกในแง่ดีให้มาก คิดว่า การที่ติดหนี้สิน เพื่อการพัฒนา พิสูจน์ความสามารถ
ในการบริหารจัดการเงิน แต่ก็ห้ามคิดว่าพัฒนามากเกินไป จนกลายเป็นฟุ้งเฟ้อ
ไม่รู้จักพอที่ แ ย่ คือคิดเอาเงิน ในอนาคตมาใช้ โดยไม่รู้จักบริหารจัดการให้ดี
อย่างนี้ก็เป็นหนี้หัวโต
2. อย่าเป็นคนรักษา หน้ามาก บางคนมองการเป็นหนี้คนอื่น เป็นการบอกว่าเราด้อย
ไม่มีเงิน ไม่มีทรัพย์สมบัติทนไม่ได้ที่ต้องเป็นหนี้ ก็เลยไม่กล้าลงทุนทำอะไรหรือ
ยอมไปหาเงินมาจากที่อื่นๆ ที่ไม่เหมาะสมแทน เช่น เล่นการ พ นั น เสี่ ย ง โ ช ค
ยอมขายตัวขายศักดิ์ศรีแลกเงิน แ ย่ กว่าการเป็นหนี้สถาบันการเงินเสียอีก
3. มองว่าการมีหนี้ ก็เพื่อการฝึกควบคุมตนเองและฝึกการบริหารจัดการ
เรื่องเงินเรื่องทองให้ได้ ถ้าทำได้ ฝ่า ฟั น ได้จะเป็นผู้มีประสบการณ์แกร่งขึ้น
4. บอกตัวเองเสมอว่าคนที่เ ค รี ย ด ควรเป็นเจ้าหนี้ อย่ามองเพียงแค่ว่าเจ้าหนี้
มีความสุขจากการได้ดอกเบี้ยเงินกู้อย่างเดียว มีเจ้าหนี้จำนวนมากก็ขาดทุน
ไปไม่น้อยซึ่งควรจะช่วยกัน ทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้ เพื่อให้เกิดความพึงพอใจทั้งสองฝ่าย
อย่าเอาเปรียบกันดีที่สุด
5. เผื่อใจสำหรับการใช้หนี้ไม่ได้ อาจต้องยอมขายหรือ เสียอะไรบางอย่างบ้าง
เพื่อให้สามารถบริหารจัดการหนี้ได้ อย่าเป็นคนที่ใช้ชีวิต แบบยึดติดกับวัตถุมากเกินไป
เงินทองของนอกกายไม่ ต าย ก็หาใหม่ได้ อย่าไปปักใจอยู่กับคุณค่าของวัตถุมากเกินไป
เพราะคุณค่าที่เกิดขึ้นเกิดจากใจ ของเราต่างหากที่ไปสร้างเงื่อนไขทางความคิดตัวเอง
6. ผู้ไม่มีทรัพย์สินอะไรให้ขายชดใช้หนี้ อย่าลืม “ทรัพย์สินทางปัญญา” ต้อง
พ ย า ย า ม หาออกมาใช้ให้มากที่สุดเชื่อว่าไม่มีทรัพย์ใดจะมีค่ามากไปกว่า
ปัญญาของเราเอง
7. คิดหาทางเลือกอื่นๆ ไว้เมื่อหนี้มีปัญหา อย่าคิดสั้ นๆ อย่าลืมว่าปัญหา
มักจะมีทางออกสำหรับผู้ที่ฝึกคิดเสมอ
8. การเป็นหนี้ในแง่ดี คือว่าคุณยังเป็นคนที่มีเครดิตอยู่ อย่างไรก็ตาม ถ้าขอใครแล้ว
เขาไม่ให้ยืมก็กลับมาทบทวนบอกตัวเองว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน”
อย่าไปหวังใครจะมาช่วยเรา ถ้าเรายังไม่เริ่มต้น คิดช่วยเหลือตนเอง
9. ฝึกตนเองมุ่งมั่น ในการทำงานไปเรื่อยๆ ไม่ต้องคิดเรื่องการเป็นหนี้อยู่ใน ส ม อ ง ให้มากนัก
มีความรับผิดชอบต่อชีวิตและหนี้สิน เมื่อนั้นจะรู้สึกมีความสุขมากและจะภูมิใจ
ที่เราเป็นคนที่มีความรับผิดชอบที่ดี ให้ชมตัวเองบ่อยๆ ได้
10. ถ้าโดนเจ้าหนี้ทวงอยู่เรื่อยๆ ใช้วิชาการ เจรจาต่อรอง แสดงความจริงใจว่า
จะผ่อนส่งให้ ถ้าเขาอยากได้มากกว่าที่เราสามารถให้ได้ ก็ตอบไปตรงๆ ว่า
ไม่สามารถทำได้ในเวลานั้น (แต่จะ พ ย า ย า ม หามาให้)เพราะเขาเองก็กลัว
จะไม่ได้เหมือนกัน ฉะนั้น หาข้อตกลงรอมชอมดีที่สุด อย่า เ ค รี ย ด ไปก่อน
เพราะกลัวว่า จะทนต่อการถูกทวงไม่ไหว อย่าลืมว่าเจ้าหนี้บางรายเป็นพวก จู้จี้จุกจิก
ย้ำคิดย้ำทำ ซึ่งควรเห็นใจเขา เพราะเงินของใคร ก็หวงห่วงเป็นธรรมดา
11. คนที่ค่อนข้าง เ ค รี ย ด คิดมาก เรื่องการเป็นหนี้ ให้สำรวจตนเองว่าเป็นคน วิ ต ก กั ง ว ล
เกินไปหรือไม่ ส่งผลต่อชีวิตอย่างไร เช่น ทำให้ขยันขึ้น ทำให้หมด เรี่ยวแรงในการต่อสู้กั
บปัญหากันไหมถ้าเป็นประเด็นหลังอาจต้องรับการ บำ บั ด รักษา ทางด้าน สุ ข ภ า พ จิ ต
จะดีกว่า หากปล่อยไว้ ชีวิตจะค่อยๆ ห ม ด พ ลั ง ในการดำเนินชีวิตในที่สุด
“ผมคิดว่าไม่จำเป็น อย่ามีหนี้ดีที่สุด หากต้องมีขอให้มีหนี้สิน เพื่อเป็นทรัพย์สินที่มั่นคง
ในอนาคตมากกว่าหนี้สูญ เช่น หนี้จากการฟุ่มเฟือยใช้จ่ายในสิ่งที่ไร้ส าระ หาความสุข
ที่มากเกินพอดี การเล่นการ พ นั น ติ ด ย า เ ส พ ติ ด เป็นต้น ดูๆ ไปก็น่าเหนื่อยใจไม่น้อย
ขอเป็นกำลังใจ ให้คนที่กำลังมีหนี้อยู่ด้วยว่าความ พ ย า ย า ม อดทน อยู่ที่ไหนหนี้ทางใจก็
จะไม่อยู่ที่นั่นอีกต่อไป” แต่ถ้าไม่สามารถจัดการได้ คุณอาจจะ “ป่ ว ย” เพราะหนี้ได้เช่นกัน
ขอขอบคุณ pattanakit