คนค้าขายบางคนบางเจ้า ขายดีจนเจ๊ง อ่ า น ไ ม่ ผิ ด หรอกครับ หมายความอย่างนั้นจริงๆขายดี…จนกระทั่งธุรกิจเจ๊ง แล้วต้องปิดตัวลง แบบเจ้าตัวยังงงๆ กับชีวิตว่าเกิดอะไรขึ้น
เหตุการณ์เช่นนี้ มักเกิดขึ้นกับเจ้าของกิจการ ขนาดเล็กในบ้านเรา(ร้ า น ก๋ ว ย เ ตี๋ ย ว ร้ า น อ า ห า ร ร้ า น จิ ป า ถ ะ) ที่เริ่มต้นเติบโตมา จากระบบเจ้าของคนเดียวมีความเชี่ยวชาญ
ในเรื่องใด เรื่องหนึ่งเอาความเชี่ยวชาญนั้น มาทำธุรกิจจนประสบความสำเร็จ เจริญก้าวหน้ามีลูกค้ามากมายแต่อยู่ๆก็เกิดอาการซวนเซ แล้วเจ๊งไปซะง่ายๆ มีเพื่อนรายหนึ่ง
อยู่ในอาการที่ว่ามานี้โชคดีที่มาถามก่อนเจ๊ง เพื่อนมาถามผมว่า เกิดอะไรขึ้น ทั้งๆที่ธุรกิจไปได้ดี ลูกค้ามากมายยอดขายแต่ละวัน…นับเงินเมื่อยมือ แต่ต้องไปกู้หนี้ยืมสินมาใช้
ในธุรกิจเหมือนเติมไม่เต็มตลอด หลายปีที่ทำธุรกิจมา ผมเริ่มต้นจากคำถามง่ายๆว่า” เป็นเจ้าของกิจการมีเงินเดือนเดือนละเท่าไหร่…?“ เงียบ…แทนคำตอบ ก่อนที่จะถามกลับมาว่า
ทำไมต้องมีเงินเดือนในเมื่อเป็นเจ้าของอยู่แล้ว ผมถามคำถามที่สอง “แล้วเจ้าของใช้เงินเดือนละเท่าไหร่?” ลังเลนิดหนึ่ง ก่อนจะตอบว่าไม่รู้ ว่าเดือนละเท่าไหร่เพราะจะใช้อะไร
ก็หยิบไปจากลิ้นชัก ไม่ได้จดไว้ว่าเท่าไหร่ อาศัยว่าถ้าเงินพอก็หยิบไปได้ ถ้าไม่พอก็รอให้เงินพอก่อนแล้วค่อยหยิบ ผมถามคำถามที่สาม ”เงินที่หยิบจากลิ้นชักไปเอาไป ซื้ อ อะไรบ้าง“
คราวนี้ ส า ธ ย า ย ย า ว เ ห ยี ย ด …ก็ ซื้ อ ทุกอย่าง กินข้าว ซื้ อ ของเข้าบ้านเลี้ยงสังสรรค์ผ่อนรถ…ฯลฯ ผมสรุป…”นั่นแหละสาเหตุ” คนทำธุรกิจแบบโตมากับมือ ส่วนใหญ่
เป็นแบบเพื่อนผมนี่แหละครับ ไม่เคยตั้งเงินเดือนให้ตัวเองไม่เคยจดว่าใช้เงินไปเท่าไหร่ และใช้ไปกับเรื่องอะไร ทั้งหลายทั้งปวงสรุปได้ 3 สาเหตุใหญ่คือ
1.ไม่แยกแยะเงินของธุรกิจ ออกจากเงินส่วนตัว การที่ไม่ตั้งเงินเดือนให้ตัวเอง เพราะคิดว่าตัวเองคือเจ้าของธุรกิจ และเป็นเจ้าของเงินทั้งหมดอยู่แล้ว จะใช้อย่างไรก็ได้
นั่นคือแนวคิดเริ่มต้นที่ผิดเพราะต้องมองให้ธุรกิจเป็นเหมือนบุคคลอีกคนหนึ่ง ที่เรารับจ้างทำงานให้อยู่ เวลาเราจ้างลูกจ้างจ่ายเงินเดือนชัดเจน ใช้เกินกว่านั้นไม่ได้
แต่ตัวเราซึ่งรับจ้างธุรกิจ ที่เราก่อตั้งขึ้นมา กลับใช้เงินได้ไม่จำกัดซึ่งส่งผลทำให้เงินที่เป็นค่าใช้จ่าย ด้านเงินเดือน ไม่คงที่ในแต่ละเดือน ขึ้นอยู่กับเราจะเมามันหยิบมาใช้
มากน้อยแค่ไหน ดังนั้นต้องตั้งเงินเดือนให้ตัวเอง แล้วจ่ายเงินเดือน เมื่อสิ้นเดือนเหมือนพนักงานคนอื่นๆแล้วต้องใช้เงินแค่นั้น ห้ามเกิน ถ้าเกินก็ห้ามหยิบมาจากลิ้นชักอีก
ต้องไปหายืมคนอื่นเอาเองห้ามยืมจากลิ้นชัก ถ้าจะยืมจากลิ้นชักจริงๆ ก็ต้องจดแล้วนำมาคืนอย่างเคร่งครัด
2.ไม่ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เมื่อจ่ายเงินเดือนให้ตัวเองมาแล้ว ควรจะทำบัญชี รายรับ-รายจ่ายให้ตัวเองด้วย คร่าวๆก็ได้เอาพอรู้ว่า แต่ละวันจ่ายอะไรไปเท่าไหร่
เหลือเงินใช้ได้อีกเท่าไหร่ ไม่ใช่ใช้สนุกมือไปเรื่อย เพราะเห็นว่าธุรกิจขายดี ถ้าคิดว่าขายดีและเงินเดือนที่ตั้งให้ตัวเอง ไม่พอใช้ ขึ้นเงินเดือนให้ตัวเองซะ จะขึ้นเท่าไหร่
ไม่มีใครว่าแต่ควรเป็นตัวเลขที่มีเหตุผล และไม่ทำให้กระทบ กับรายรับของธุรกิจจะรู้ได้อย่างไรว่าไม่กระทบต้องทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของธุรกิจด้วย อันนี้ถ้าไม่ทำ…
แ ย่ เ ล ย น ะ ของส่วนตัวขี้เกียจทำใช้ระบบนับเงินที่เหลือในกระเป๋ายังพอได้ แต่ของธุรกิจไม่ทำบัญชีเดี๋ยวจะรวยแบบไม่รู้เรื่องและเจ๊งแบบไม่รู้เรื่องเช่นกัน
3.ใช้เงินผิดประเภท เพื่อนผมเอาเงินที่หยิบจากลิ้นชักไป ซื้ อ ข้าวกิน ไปเลี้ยงสังสรรค์ ไป ซื้ อ ของใช้เข้าบ้านไปผ่อนรถ…ฟังดูแล้วล้วน แต่เป็นเรื่องส่วนตัวทั้งสิ้น
เรื่องส่วนตัวต้องใช้เงินส่วนตัว คือเงินเดือนของตัวเองแต่เงินของธุรกิจควรจะจ่าย ในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น ชำระหนี้การค้า ซื้ อ วัตถุดิบจ่ายเงินเดือนค่าจ้างฯลฯ
อะไรก็ได้ที่เกี่ยวกับธุรกิจ ตอนที่รับเงินจากลูกค้า ในเงินแต่ละก้อนที่ได้รับประกอบด้วยต้นทุนของสินค้าต้นทุนค่าดำเนินการ และกำไรอยู่ในนั้น แต่เวลาที่เราหยิบออกมาจ่าย
เรากลับมองว่าวันนี้รับมาเท่าไหร่โดยมองว่าเป็นรายรับล้วนๆ ไม่คิดจะแยกทุน แยกกำไรกันเลย พอเอาไปใช้ผิดประเภท เท่ากับว่าได้ใช้ทั้งกำไรและต้นทุนไปทั้งหมด
ก็จะอยู่ในอาการ “ทุนหด…กำไรไม่เหลือ”
ขอขอบคุณ bitcoretech