วิธีที่ 1 พูดด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน
คนเย่อหยิ่งอวดดีย่อมไม่ได้รับการต้อนรับจากผู้อื่น
คนที่ชอบคุยโวโอ้อวดย่อมสร้างความเบื่อหน่ายเอือมระอาให้กับผู้อื่น
การอ่อนน้อมถ่อมตนไม่ใช่การลดคุณค่าของตัวเองให้ต่ำลง
แต่เป็นสุดยอดวิธีในการแสดงความคิดความรู้สึกของตนเองออกมา
วิธีที่ 2 รู้จักใช้คำพูดที่ยืดหยุ่น
คำพูดที่ยืดหยุ่นไม่ผูกมัด ก็คล้ายกับนักแสดงที่แสดงละคร ใช้บ่อยเข้าก็ย่อมจะคล่องไปเอง
วิธีที่ 3 พูดผิดพูดใหม่ให้ทันท่วงที
สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง ก้าวพลาดไปก็ลุกขึ้นมาใหม่ได้
คนเมื่อพูดผิดพลั้งไปแล้ว ก็หาคำพูดที่น่าฟังมาชดเชยได้
วิธีที่ 4 ใช้คำพูดเปลี่ยนศั ต รู ให้เป็นมิตร
อย่าไปหาเรื่องกับศั ต รู ขอเพียงในใจเรามีคำพูดที่น่าฟัง จะยังมีใครเป็นศั ต รู กับเราได้อีก
วิธีที่ 5 รู้จักใช้คำพูดชื่นชมผู้อื่น
คำพูดหวานหูทำให้คนฟังรู้สึกอบอุ่นแม้อากาศจะหนาว คำพูดที่ทำร้ า ย จิตใจ
คนแม้จะอยู่ในฤดูร้อนคนฟังก็ยังรู้สึกหวานเหน็บหัวใจ
บางครั้งคำพูดดีดีเพียงประโยคเดียวก็สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตคนทั้งชีวิตได้
วิธีที่ 6 พูดแค่สามส่วนก็พอ
เปิดเผยตรงไปตรงมา ไม่ได้หมายความว่าให้พูดจาไม่เหลือทางหนีทีไล่
พูดมากเกินไปบางครั้งอาจก่อให้เกิดภัยขึ้นได้ จงจำไว้ว่า ภัยเกิดจากปาก
วิธีที่ 7 รู้จักเอาตัวเองมาล้อเล่น
หากเราสามารถเอาส่วนที่น่าขำของตัวเองมาพูดเป็นเรื่องตลกให้คนอื่นได้หัวเราะอยู่เสมอก็จะสามารถชนะใจ
ได้รับมิตรภาพจากผู้อื่นอย่างแน่นอน เพราะการที่เราให้ความสำคัญผู้อื่นหัวเราะเย าะตัวเอง
ก็เท่ากับแสดงให้เห็นว่าท่านมองตัวเองกับผู้อื่นอยู่ในระดับเดียวกัน
วิธีที่ 8 ไม่ใช้วาจาแสดงการปฏิเสธผู้อื่น
ถ้าในระหว่างการพูดจา หากใครชอบแสดงท่าทีปฏิเสธไม่รับฟังผู้อื่นอยู่เสมอ
ก็จะทำให้อีกฝ่ายทนไม่ไหวโกรธหรืออาจทำให้เกิดการปะทะกันทางวาจาหรือใช้กำลังได้
วิธีที่ 9 ไ ม่ใ ช้คำพูดกระทบกระเทียบเหยียดหย าม
อย่าคิดว่าเรื่องหยุมหยิมเล็กน้อยจะไม่สร้างปัญหาใหญ่ได้ ตรงข้าม ควรให้ความใส่ใจโดยเริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ
สร้างภาพลักษณ์ของตัวเองให้สมบูรณ์พร้อมในทุกด้าน สุดท้าย ต้องฝึกตนให้รู้จักใช้คำพูดที่เหมาะสม
วิธีที่ 10 บางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องพูดตรงเกินไป
ในการพูดจาควรเรียนรู้จักคำ ว่า อ้อมค้อมเรือเดินสมุทรที่สามารถหลบหลีกโขดหินโ ส โ ค ร ก
จนไปถึงจุดหมายปลายทางได้อย่างราบรื่น นั่นก็เป็นเพราะมีความเชี่ยวชาญในการอ้อมนั่นเอง
วิธีที่ 11 อย่าใช้คำพูดข ว า น ผ่ า ซ า ก ทำร้ า ย จิตใจผู้อื่น
คำพูดตรงไปตรงมาคือมี ดที่แหลมคมทำร้ า ย จิตใจผู้อื่นแล้วยังทำร้ า ย จิตใจตัวเอง
คำพูดที่นุ่มนวลคือลมพัดในฤดูใบไม้ผลิ การปลอบใจผู้อื่นก็คือการปลอบใจตัวเอง
วิธีที่ 12 หมั่นยกย่องพูดให้กำลังใจ
การให้กำลังใจที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบอยู่เสมอให้ผลดีมากกว่าการให้กำลังที่ไม่เปลี่ยนแปลงรูปแบบ
วิธีที่ 13 รู้จักใช้ภาษาท่าทาง
การแสดงออกทางอารมณ์และความคิดที่ปรากฏบนใบหน้าและกริย าท่าทาง มีพ ลั งมากกว่าการแสดงออกทางคำพูด
วิธีที่ 14 พูดคำ “ขอโทษ” ให้เป็น
พลั้งปากพูดผิดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาเมื่อพูดผิดไปแล้วมารู้สึกเสียใจภายหลังหาใช่เรื่องสำคัญที่สำคัญก็คือ
เราจะทำอย่างไรให้ได้ผลเสียอันเกิดจากการพูดผิดไปนั้นลดลงให้เหลือน้อยที่สุด
วิธีที่ 15 รู้จัก “ติชม” ดีกว่าชมอย่างเดียว
เอาแต่ยิ้มแย้มพูดจาให้กำลังใจผู้อื่นอย่างเดียวหาใช่วิธีที่ดีที่สุด
บางครั้งบางเวลาในขณะพูดคุยสนทนาถ้าสอดแทรกคำติไปบ้ างกลับจะทำให้ผู้อื่นยอมรับได้ง่ายกว่า
วิธีที่ 16 อย่าไปพูดเปิดโปงแ ผ ลเก่าของคนอื่น
การเปิดโปงแ ผ ลเก่าของผู้อื่น เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะมีแต่คนโ ง่หรือคนบ้ าเท่านั้นที่จะไม่โกรธ
วิธีที่ 17 อย่าเอาแต่พูดจากล่าวโทษผู้อื่น
ผลักภาระความรับผิดชอบทั้งหมดไปให้ผู้อื่นผลประโยชน์ต่าง ๆ ตัวเองผูกขาดไว้คนเดียว คนประเภทนี้คือคนที่ไม่มีมนุษยสัมพันธ์
วิธีที่ 18 จงพูดจาด้วยเหตุผล อย่าใช้อารมณ์
สมมติว่าเราเกิดโทสะแล้วอาละวาดใส่ผู้อื่นไปบางทีความโกรธของเราอาจมลายจมหายไป
หลังจากนั้นใจคอก็สบายขึ้น แต่เมื่อเราว่าผู้อื่นแล้วเราสบายใจเขาได้แ บ่ ง ปั นความรู้สึกเช่นนั้นกับเราบ้ างหรือเปล่า
วิธีที่ 19 รับฟังคำพูดของผู้อื่น ด้วยความนอบน้อมจริงใจ
ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก ไม่ควรเอาแต่คุยโวให้ผู้อื่นฟัง
เพียงเพราะตนเองได้รับความสำเร็จเพียงเล็กน้อยหากแต่ควรสดับรับฟังคำพูดของผู้อื่นอย่างตั้งอกตั้งใจ ยังจะมีประโยชน์เสียกว่า
วิธีที่ 20 พูดจากับใคร ต้องรู้จักและเข้าใจคนฟัง
พูดมาก ก็ใช่ว่าคนอื่นจะรู้สึกดีกับท่าน พูดน้อยก็ใช่ว่าคนอื่นจะรู้สึกว่าท่านโ ง่เขลา
ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า ก่อนจะจุดธูปก็ต้องดูให้แน่ใจว่า จะไหว้พระโพธิสัตว์องค์ไหน จะพูดจาก็ต้องดูว่า พูดกับใคร
วิธีที่ 21 อย่าใช้คำพูดทำร้ า ย คน
คนเราทุกคนต่างรู้จักโกรธ รู้จักไม่พอใจด้วยกันทั้งนั้น
เวลาที่มีใครมาพูดอะไรแล้วเรารู้สึกไม่เข้าหูก็ควรทำเป็นเอาหูไปนาเอาตาไปไร่เสียไม่จำเป็นต้องไปจริงจังจนเกินไป
คิดแต่จะต้องโต้ตอบกลับไปให้เ จ็ บแสบ อะไรที่ไม่เกี่ยวกับเรา ก็ไม่ควรไปตอบโต้
วิธีที่ 22 รู้จักเลือกใช้คำพูดให้เหมาะสมกับแต่ละคน
ไม่ว่าจะใช้ภาษาอะไรขอเพียงบรรลุถึงเป้าหมายภาษาอะไรล้วนเป็นภาษาที่ไพเราะชวนฟัง
วิธีที่ 23 ฟังมาก พูดน้อย พยักหน้าอยู่เสมอ
ฟังมาก พูดน้อย พยักหน้าอยู่เสมอ ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่าย แต่ถ้าทำได้ก็จะทำให้สามารถยืนหยัดในสังคมได้อย่างย าวนาน
วิธีที่ 24 กล้าพูดคำว่า “ไม่”
“ไม่” คำ นี้เขียนไม่ย าก แต่ถ้าจะเอามาใช้ในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลแล้ว
กลับไม่ง่ายเลยที่จะเอ่ยออกมา มีคนมาก มายที่เป็นเพราะเงื่อนไขทางความสัมพันธ์หรือด้วยอุปนิสัยส่วนตัว
หรือเป็นเพราะสถานการณ์บังคับทำให้ไม่อาจเอ่ยคำว่า “ไม่” ออกมาและเป็นเหตุให้ตัวเองได้รับความเสียหายอย่างมาก
วิธีที่ 25 “คำพูดที่ไม่จริง” ต้องพูดด้วยเจตนาดีเท่านั้น
ในชีวิตของคนเรานั้นเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องมีเรื่องโ ก ห กอยู่มากมายในเรื่องนั้นบ้ าง
เรื่องนี้บ้ างขอเพียงไม่ได้มีเจตนาไปทำร้ า ย หรือทำให้ผู้อื่นเสียหาย
คำโ ก ห กนั้นเกิดขึ้นเพราะสถานการณ์บังคับในทางที่เป็นไปได้
วิธีที่ 26 รู้จักหลีกเลี่ยง ไม่พูดในสิ่งที่เขาไม่ชอบ
การหลีกเลี่ยงไม่พูดในสิ่งที่ผู้อื่นไม่ชอบช่วยให้การคบค้าสมาคมดำเนินไปได้อย่างราบรื่น
พย าย ามเข้าใจผู้อื่น ให้ความเคารพผู้อื่นและหลีกเลี่ยงการทำให้ผู้อื่นไม่สบายใจ
วิธีที่ 27 ยกย่องชมเชยด้วยความใจกว้างและจริงใจ
การยกย่องชมเชยทำ ให้คนยอมรับง่ายกว่าการตำหนิติเตียน
ไม่ว่าใครต่างก็ยินดีเมื่อได้รับการยกย่องชื่นชม ด้วยเหตุนี้จึงควรเข้มงวดกับตัวเองแต่ใจกว้างกับผู้อื่นไว้เป็นดี
วิธีที่ 28 กล่าว “ขอบคุณ” ให้ติดปาก
ขอบคุณ สองคำนี้พูดไม่ย าก ทั้งยังมีประโยชน์อย่างมาก ทำให้คว้าจับหัวใจผู้อื่นไว้ได้
ที่มา : จ า ก ห นั ง สื อ 6 5 วิ ธี พู ด ดี ดี ไ ด้ ใ จ ค น โ ด ย ทิ ภ า พ ร เ ยี่ ย ม วั ฒ น า