หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “ปล่อยวาง” กันมาบ้างแล้ว แต่ก็มีน้อยคนนักที่จะทำได้แท้ที่จริงแล้ว การปล่อยวางคืออะไรกันแน่ การ
ปล่อยวางคือการละทิ้งทุกอย่ างแล้วหนีไปอยู่คนเดียวในที่ ๆ ไม่มีใครรู้จักใช่ไหม
วันนี้เราจะพาทุกท่านมารู้จักการปล่อยวางที่แท้จริงคืออะไรกันแน่สิ่งที่ต้องทำให้ได้ หากอย ากปล่อยวาง
1. อย่ าคิดแก้แค้น
การแก้แค้นที่ดีสุด คือ การทำชีวิตของคุณให้ดี ให้มีความสุข ประสบความสำเร็จในชีวิตหากคุณมัวแต่คิดแก้แค้น วัน ๆ นึง
คุณก็จะไม่ได้ทำสิ่งที่ดีเลย เพราะคุณมัวแต่คิดว่า จะทำอย่ างไรให้คนที่คุณแค้นไม่มีความสุข นั่นแสดงว่า
คุณไม่ได้คิดถึงตัวเองเลย ดังคำพูดของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักฟิสิกส์และนักปรัชญาชื่อก้องโลก
ที่กล่าวไว้ว่า “คุณไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เมื่อคุณหมกมุ่นอยู่กับความคิด และความรู้สึกด้านลบ”
2. ปล่อยวางความโกรธ
มีความรักและปรารถนาดีต่อผู้อื่น ความโกรธเป็นอารมณ์ที่แสดงออกมาในทางลบ หากคุณสามารถปล่อยวางความโกรธลงได้
ชีวิตของคุณก็จะมีแต่เรื่องดี ๆ ไม่มีประโยชน์อะไรที่เราจะไปโกรธ ความโกรธนั้นจะทำให้คุณมีความร้อนอยู่ภายใน
หาความสุขไม่ได้เพราะฉะนั้น เรื่องอะไรเราจะต้องทำให้ตัวเองไม่มีความสุขล่ะ
3. หมั่นสวดมนต์แผ่เมตตา
การสวดมนต์แผ่เมตตานี้ นอกจากได้อานิสงส์แรงกล้าแล้ว ยังทำให้เราเป็นผู้ที่มีจิตใจสูง เป็นผู้ที่มีสติปัญญา
อะไรที่เป็นปัญหา เราก็สามารถที่จะแก้ไขได้ในทางที่ถูกที่ควร
4. หาความสุขจากสิ่งรอบตัว
การแสวงหาความสุขนั้น เราไม่จำเป็นจะต้องออกเดินทางไกลไปหาที่ไหน ความสุขที่แท้จริง
ไม่ได้ไกลตัวคุณเลยหากคุณเปิดใจ ปล่อยวางจากสิ่งที่ยึดถืออยู่ คุณจะพบว่าอะไร ๆ ก็ล้วนเป็นความสุขทั้งนั้น เช่น การที่คุณได้
ทำงานที่คุณรัก การที่คุณได้ดูแลพ่อแม่ การที่คุณได้ไปเที่ยวกับครอบครัว การที่คุณได้ช่วยเหลือผู้อื่นเล็กน้อย ๆ
แค่นี้จิตใจของคุณก็จะเบิกบานแล้ว
5. มองข้ามสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ
อย่ าเก็บทุกเรื่องในชีวิตมาคิด เพราะถ้าเป็นอย่ างนั้น สมองของคุณก็จะไม่ได้รับการพักผ่อนชีวิตเรา
ไม่ได้เกิดมาเพื่อแบกรับทุก อย่ าง ปล่อยวางบางเรื่องบ้างก็ได้ อย่ าเอาทุกอย่ างมาเป็นภาระสมอง
6. เลิกเอาเรื่องของคนอื่นมาคิด และเลิกบงการชีวิตคนอื่น
การคิดแทนคนอื่น เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เราไม่สามารถคิดแทนใครได้ ต่างคน ต่างจิต ต่างใจ
ต่างที่มา เราไม่สามารถบังคับให้ใครมาทำตามใจเราได้หรอกนะ
“การปล่อยวาง คือ คุณสมบัติของผู้ที่แข็งแกร่ง”
ที่มา : ธรรมะสอนใจ