เชื่อว่าหลายคนต้องเคยพบปัญหาเวลาที่ต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จนเกิดความหลงใหลและสนุกจนอยากจะพัฒนาสิ่งใหม่ๆ
ที่เรียนรู้นั้นให้กลายเป็นทักษะและความสามารถขึ้นมาหลายๆ ครั้งเราอาจเกิดคำถามว่าเราควรฝึกฝนตัวเองอย่างไร
จึงจะเกิดการพัฒนา ทั้งที่เราก็มีความตั้งใจและมุ่งมั่นอยากจะทำให้สิ่งที่ได้เรียนรู้ใหม่นั้น ดีขึ้นอย่างรวดเร็วหรือ
แม้กระทั่งการรื้อฟื้นทักษะความสามารถที่ร้างราไปนานให้กลับมาดีได้เหมือนในอดีต ลองฝึกฝนด้วย 7 วิธี
พัฒนาทักษะให้เก่งขึ้นดู แล้วทักษะความสามารถที่คุณต้องการก็จะถูกพัฒนาให้ดีได้เร็วขึ้นตาม
1.ลืมปัจจัยเรื่องเวลาไปซะ
เมื่อต้องซ้อมให้เกิดทักษะความชำนาญก็อย่าถามตัวเองว่าใช้เวลาซ้อมมากพอแล้วหรือยัง แต่จงถามตัวเองว่าจำนวนครั้งที่ซ้อมนั้น
มากพอจนสามารถเก่งได้มากขึ้นแล้วหรือไม่รู้ไว้เถอะว่าคุณภาพของการฝึกฝนไม่ได้วัดกันที่เวลาในการฝึก แต่เป็นจำนวนครั้งที่ฝึกซ้ำๆ
จนเกิดความชำนาญต่างหาก เช่น อย่าตั้งเป้าการฝึกว่าจะทำวันละ 1 ชั่ ว โ ม งแต่ให้ตั้งเป้าว่าจะฝึกวันละ 5 รอบแทน เป็นต้น
2.แบ่งทักษะออกเป็นส่วนย่อยๆ
เราคงเคยได้ยินคำว่าค่อยๆ ทำทีละอย่างมาจนชินหู คำสอนนั้นแหละคือหลักการฝึกทักษะที่ดี เมื่อเราเจอบททดสอบที่
อาจดูว่ายากสำหรับเราในช่วงแรกๆที่ไม่เคยทำ ก็ให้ลองแบ่งทักษะนั้นออกเป็นส่วนย่อยๆ ค่อยๆ ฝึกในแต่ละขั้นโดยเริ่มโฟกัสจากสิ่งที่
เราชอบมากที่สุดก่อน แล้วค่อยๆร้อยเรียงทักษะแต่ละส่วนเข้าด้วยกันเป็นทักษะใหญ่หนึ่งเรื่อง
เมื่อทักษะย่อยมีความชำนาญย่อมเกิดเป็นผลดีต่อทักษะใหญ่ด้วย
3.จดจ่อและทำซ้ำๆ
การทำหลายๆ อย่างพร้อมกันโดยไม่ตั้งใจกับอะไรสักอย่างเลย จะทำให้ประสิทธิภาพในการทำหลายๆอย่างนั้นออกมา
แ ย่ หรือมีค่าเท่ากับไม่ได้ทำสิ่งนั้นเลยในการฝึกฝนจงอย่าตั้งเป้าว่าจะพัฒนาทักษะให้ดีขึ้นเท่านั้นเท่านี้ แต่ให้ทำสิ่งเล็กๆ ย่อยๆ
ในแต่ละเรื่องให้ออกมาดีให้สมบูรณ์แบบแทบจะ 100% ให้ได้ เช่น นักเทนนิสจะฝึกเสิร์ฟลูกเทนนิส
เขาก็จะจดจ่ออยู่กับการเสิร์ฟเป็นร้อยๆ ครั้ง จนได้ตำแหน่งของการเสิร์ฟที่ดีที่สุด ธรรมชาติไมได้สร้างเราขึ้นมาให้เก่งขึ้นใน
ชั่ ว ข้ า ม คื น แต่สร้างให้เราเรียนรู้ได้และมีพัฒนาการที่เติบโตขึ้นได้ พรสวรรค์เป็นแค่เพียงส่วนหนึ่งที่ทำให้เราเก่ง
แต่การทำซ้ำและทำให้เพอร์เฟคจน ทำ ล า ย ขีดจำกัดของตัวเองได้ต่างหากคือเหตุผลที่จะทำให้เราเก่งขึ้น
4.มองการฝึกซ้อมให้เป็นเกม
เคล็ดลับนี้เกี่ยวข้องกับทัศนคติของผู้ฝึกทักษะโดยตรง ถ้าเมื่อใดก็ตามที่เรารู้สึกว่าการฝึกซ้อมทักษะอยู่เสมอๆ
คือความจำเจ ความรู้สึกสนุกก็จะหายไป แต่ถ้าเรามองว่าการฝึกฝนตนเองเป็นเกม สิ่งที่ทำได้คือแต้ม ส ม อ ง
ก็จะสร้างความท้าทายขึ้นมาและจะทำให้เราบรรลุจุดประสงค์ได้ง่ายขึ้น
5.ฝึกตามลำพังในพื้นที่จำกัด
เคล็ดลับของการซ้อมตามลำพัง คือ การไม่มีความกดดันจากรอบข้าง ส่วนการฝึกในที่แคบจะทำให้เราโฟกัส
กับการฝึกและเห็นเป้าหมายได้ชัดเจนกว่าเดิม เพราะพื้นที่ที่จำกัดจะสร้างกรอบความท้าทายที่เราต้องทำให้ได้ เช่น
ในด้านการฝึกความคิด การกำหนดจำนวนตัวอักษรจะท้าทายนักคิดว่า ข้อความแค่ไหนถึงจะเพียงพอ
ต่อก้อนความคิด ที่จะสามารถ สื่ อ ส า ร ออกไปได้รู้เรื่อง เมื่อเงื่อนไขของพื้นที่มีจำกัดอยู่เพียงเท่านี้ส่วน
สิ่งสำคัญที่จะทำให้เราพัฒนาไปได้ไกล คือ การทำทักษะนั้นซ้ำๆ ให้มากๆ และอยู่กับตัวเองมากๆ จนหาขีดความสามารถของตนเอง
พบแล้วมองหาข้อผิดพลาด จากนั้นลงมือแก้ไขสิ่งผิดพลาดนั้นทันที แม้จะเป็นข้อผิดพลาดเพียงเล็กน้อยก็ตาม ความกดดัน
จากความผิดพลาดจะบีบคั้นให้เราไม่อยากทำผิดซ้ำๆ ท้ายที่สุดทักษะที่ถูกต้องก็จะเกิดขึ้นจากความ พ ย า ย า ม แก้ไขมันอยู่เรื่อยๆ นั่นเอง
6.คิดให้เป็นภาพ
การคิด การหลับตา หรือการใช้ภาษากายในการฝึกฝนให้เหมือนว่าเรากำลังแสดงละครใบ้อยู่นั้น
ถือเป็นปิดการรับรู้สิ่งรบกวนภายนอกได้เป็นอย่างดี ทำให้เราเข้าสู่ความนิ่งจนเกิดสมาธิได้เร็วขึ้นจนเราสามารถจดจ่ออยู่กับจินตนาการ
ซึ่งจินตนาการที่เราสร้างภาพขึ้นมาจะเชื่อมโยงกับความรู้สึกหรือพฤติกรรมของเราได้ง่ายกว่าคำพูด การพัฒนาทักษะต่างๆ
จึงเกิดขึ้นได้ง่ายกว่า
7.พักสักงีบ
การงีบหลับจะช่วยให้เรียนรู้ได้ดีขึ้น เพราะ ส ม อ ง ใช้พื้นที่ความทรงจำในการเก็บข้อมูลมหาศาล
จึงต้องการเวลาพักเพื่อเอาความทรงจำและทักษะที่ได้ฝึกฝนไปบรรจุไว้ใน เ ซ ล ล์ ความจำบรรดาอัจริยะระดับโลก
หลายคนล้วนเป็นนักงีบกันทั้งนั้น อย่างอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์เองก็มักงีบระหว่างมื้อกลางวัน วันละ 20 นาที ซึ่งนัก วิ จั ย ประจำ
ม ห า วิ ท ย า ลั ย แ ค ลิ ฟ อ ร์ เ นี ย ได้ค้นพบว่าการงีบหลับ 90 นาที จะช่วยให้ความจำของเราจำได้ดีขึ้นถึง 10 %
แต่ก็ใช่ว่าเราจะใช้การงีบหลับมาเป็นข้ออ้างให้เราฝึกฝนทักษะด้านต่างๆ ได้น้อยลง จำไว้เถอะว่าไม่มีใครทำเราให้เก่งขึ้นได้นอกจากตัวเรา
และวินัยจากตัวเราเองเท่านั้นที่จะนำพาเราไปสู่ความสำเร็จ
อ้างอิง : THE LITTLE BOOK OF TALENT