1. การวางแผนชีวิต
อีกสเตปที่ขยับขึ้น เปลี่ยนจากวัยเรียนเป็นวัยทำงาน แน่นอนว่ามันต้องมีหลายอย่างทำให้เราโตขึ้นตาม จะมาสนุกไปวัน ๆ
อย่างเมื่อก่อนไม่ได้แล้ว เพราะอย่างน้อยในตอนนี้ “คุณเป็นคนหาเงินเอง” ควรมีสมุดโน้ตประจำตัวสักเล่มเพื่อจดคิวงาน
และวางแผนรายรับ-รายจ่าย ชีวิตจะได้มีระเบียบขึ้น จัดการอะไรได้ง่ายขึ้นหน่อย ต่อให้คุณเป็นคนไม่ชอบจด
ก็จำเป็นต้องทำเพื่อตัวเองจริง ๆ นะ
2. ติดดินให้มากกว่าติดหรู
สังคมที่ทำงานก็เป็นสังคมอีกแบบที่ใกล้เคียงกับสังคมมหา’ลัย มีบ้างที่จะต้อง “เข้าสังคม” เพื่อพูดคุยกับคนอื่นให้รู้เรื่อง
มากขึ้นแต่ที่ต่างกันก็คือ การเข้าสังคมในวัยทำงานค่อนข้างจะจริงจัง เพราะถือกันว่าไหน ๆ ก็มีเงินเดือนเป็นของตัวเอง
แล้วมันก็ต้องมีอะไรบ้างที่ขยับฐานะตัวเองแต่ก็ใช่ว่าเราจะเลี่ยงไม่ได้ ตราบใดที่เรารู้ตัวเองดีว่ารายรับรายจ่ายส่วนตัว
เป็นอย่างไร ก็ไม่จำเป็นต้องเข้าสังคมให้มาก เอาเพียงแค่หอมปากหอมคอ นึกภาพรวมเอาไว้ว่า
“ยิ่งเก็บเงินเร็ว ยิ่งสบาย” กินใช้แบบพอตัวไปก่อนงดเว้นอะไรที่มันจะเป็นการต้องจ่ายเงินก้อนไปโดยใช่เหตุ
3. มองเห็นภาระการเงินเป็นหลัก
มนุษย์เงินเดือนหลายคนที่ประสบปัญหาเงินไม่พอใช้ ส่วนหนึ่งนั่นก็เพราะมีหนี้สินเดิมอยู่ (เช่น หนี้ กยศ. ภาระทางบ้าน)
แล้วไปสร้างหนี้ใหม่มาอีกก้อน (เช่น ค่าบัตรเครดิต, ค่าผ่อนรถ,ค่าผ่อนเครื่องใช้ไฟฟ้า) ถ้าไม่อยากประสบปัญหา
ชักหน้าไม่ถึงหลัง ติดนิสัยการกู้ยืมไปทั่ว ควรคิดไว้เสมอว่า “ตราบใดที่หนี้สินยังไม่หมด อย่าเพิ่งกินใช้แบบสบายตัว”
ควรมีวินัยในการเงินให้มากอดทนในการรับผิดชอบเสียตั้งแต่เงินเดือนออกครั้งแรกเลยยิ่งดี ภาระจะได้หมดเร็วขึ้น
ไม่มีอะไรตกค้าง มีเวลาไปใช้ต่อยอดการเงินต่อไปอีกได้สบายมาก
4. แต่ก็อย่า เ ค รี ย ด จนเกินไป
ชีวิตของการเป็นมนุษย์เงินเดือนไม่ใช่ชีวิตที่ผูกติดกับการหักเงินเดือนไปจ่ายหนี้สินแต่เพียงอย่างเดียว
หลังจากแบ่งส่วนหนึ่งของเงินเดือนไว้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายรายเดือนและหนี้สินต่าง ๆ ก็ควรให้รางวัลชีวิตแต่ละเดือน
ให้กับตัวเองบ้าง เพื่อเป็นการผ่อนคลายสร้างแรงจูงใจให้กับตัวเอง เอาแค่เรื่องง่าย ๆ อย่างไปดูหนัง,
ทานบุฟเฟต์, ซื้ อ หนังสือ ก็ได้ไม่ต้องเป็นเงินก้อนใหญ่มากเอาแค่พอให้รู้สึกมีความสุขมาหน่อยก็พอแล้ว
5. อะไรที่ไม่จำเป็น-มีผลเสียมากกว่าผลดี เลิกได้ก็ควรเลิก
เ ห ล้ า บุ ห รี่ เครื่องดื่มชูกำลัง อ า ห า ร ขยะ พ ย า ย า ม ลด ละ เลิกให้ได้ จริงอยู่ที่คุณมีเงินเดือนแล้วจะกินจะ ซื้ อ
ของพวกนี้ก็ไม่กระเทือนอะไรมาก แต่เชื่อเถอะว่าในวัย 30 ปีขึ้นไปสุ ข ภ า พ คุณจะยิ่งลำบากกว่าเดิมแน่
หากคุณยังติดกับของพวกนี้อยู่ (ยิ่งเป็นพนักงานออฟฟิศที่ไม่ได้ขยับไปไหน ทำงานหนัก ยิ่ง เ สี่ ย ง )
คุณคงไม่อยากเห็นสภาพตัวเองที่ทำงานมาแทบ ต า ย เพื่อจ่ายค่ารักษาเป็นหมื่นเป็นแสนแต่เพียงอย่างเดียวหรอกนะ ?
6. อย่าเพิ่งลาออก ถ้ายังไม่พัฒนาตัวเองให้มากพอ
อย่าหวั่นไหวไปกับกระแสสโลว์ไลฟ์ เป็นนายตัวเองดีกว่าเป็นลูกน้องคนอื่น, รู้สึกไม่พอใจนิสัยของบางคนในที่ทำงาน,
ไม่พอใจในสิ่งแวดล้อมที่ทำงาน หรืออะไรก็ตามที่เป็นปัจจัยภายนอกเข้ามารบกวนให้รู้สึกว่างานที่ทำอยู่มันไม่โอเค
บางครั้งก็ต้องทบทวนตัวเองด้วยว่า “ทำทุกอย่างเต็มที่แล้วหรือยัง?” สังคมการทำงานเป็นธรรมดา
ที่จะต้องเจอเรื่องกดดัน แข่งขัน จะให้มีแต่สิ่งดี ได้เลื่อนตำแหน่งใน 1-2 ปีก็คงเร็วไป ลองอดทนดูสักตั้ง พ ย า ย า ม
ให้ถึงที่สุดเสียก่อน ถ้าสุดท้ายแล้วมันไม่โอเคจริง ๆคุณจะได้ไม่รู้สึกเสียดายที่ได้ลาออกเลยสักนิด
7. อย่าติด comfort zone ให้มาก
อยากเลื่อนตำแหน่ง อยากมีเงินเดือนที่เพิ่มขึ้น มันก็ต้องมีการแข่งขันกันสักหน่อย อยากลาออกไปที่แห่งใหม่
คุณก็ต้องแน่ใจว่าคุณเต็มที่กับที่เดิมมากพอแล้ว และที่แห่งใหม่มีอะไรหลายอย่างที่พอจะการันตีได้ว่าอนาคตคุณก้าวหน้า
แน่นอนไม่ว่าจะเลือกทางไหนก็ตาม คุณต้อง “อัพเกรด” ตัวเองอย่างเต็มที่แล้วจริง ๆ และมีความชาญฉลาดมากพอ
ที่จะมองอะไรได้รอบด้านมาก ๆ จริงอยู่ที่การ เ สี่ ย ง ทำให้เกิดการเติบโต แต่ถ้า เ สี่ ย ง อย่างไร้ต้นทุน มันก็มีโอกาสสูงที่คุณจะ
บ า ด เ จ็ บ หนักเช่นกัน
8. เห็นความสำคัญของคนในครอบครัวให้มาก
สุดท้ายแล้ว กำลังใจก็ไม่ใช่ใครอื่นไกลนอกจากครอบครัว คนที่เรารัก การทำงานอาจจะพรากเวลา
ให้คุณมีเวลาส่วนตัวน้อยลง แต่มันก็คงไม่มากจนถึงขนาดคุณไม่ติดต่ออะไรกับพวกเขาเลย ถึงจะคุยน้อยลงหน่อย
แต่ก็อย่าทำให้พวกเขารู้สึกถึงความห่างเหิน ลดความสำคัญลง มีโอกาสเมื่อไหร่ขอให้เทคแคร์กันให้เต็มที่ เพราะยิ่งเวลาผ่านไป
เรายิ่งไม่รู้เลยว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับชีวิต ในเมื่อชีวิตมันอยู่กับความไม่แน่นอนตลอดเวลา
ไม่จำเป็นต้องแข่งกับคนอื่น ไม่จำเป็นต้องเป็นเหมือนคนอื่นชีวิตเรา รู้ตัวเร็ว เริ่มต้นสิ่งดี ๆ เร็วเมื่อไหร่
โอกาสที่จะสบายยิ่งสูงขึ้นจัดการในแต่ละสัดส่วนของชีวิตให้เป็น
แล้วคุณจะเห็นความสุขที่ไม่ไกล
ขอขอบคุณ jeeb.me