คำพูดพ่อแม่นั้นมีอิทธิพลต่อลูกมาก ไม่ว่าจะเป็นวิธีการพูด น้ำเสียง ลูกจะเติบโตมาอย่างไร คำพูดจากพ่อแม่ก็คือผลลัพธ์ที่ส่งผ่านมาถึงตัวเด็ก เมื่อเจ้าตัวเล็กของคุณพ่อคุณแม่
ประพฤติตัวไม่เหมาะสม บ่อยครั้งที่คำพูดว่ากล่าวจากพ่อแม่กลายเป็น คำพูดที่ไม่ควรพูดกับลูก และ ทำ ร้ า ย ลู ก โดยไม่รู้ตัว เพราะคำพูดนั้นอาจเป็นคำพูดที่แรงเกินไป
มีทัศนคติในเชิงลบ เป็นคำตำหนิที่ดูถูก เ ห ยี ย ด ห ย า ม ซึ่งคำพูดจากปากไม่กี่คำกลับส่งผลกระทบ ย า ว น า น ต่อความรู้สึกลูกได้คุณพ่อคุณแม่ ควรเลือกคำพูด
ที่จะใช้สอนลูก ว่ากล่าวลูกอย่างระมัดระวัง และไม่ควรใช้คำพูดแบบนี้กับลูก
1.“ทำอะไรไม่ได้ซักอย่าง”
การบอกลูกว่าพฤติกรรมที่ลูกทำไม่เหมาะสม ไม่เป็นประโยชน์ แม้แต่การเปรียบเทียบว่าทำได้ไม่ดีเหมือนพี่ หรือเหมือนน้องตัวเอง ก็เป็นการดูถูกความเป็นตัวตนของลูก
ทำให้ลูกรู้สึกน้อยใจและเสียใจที่พ่อแม่มองไม่เห็นข้อดี หรือความตั้บงใจในสิ่งที่ตนเองทำ ส่งผลทำให้ลูกกลายเป็นเด็กขาดความมั่นใจ ไม่กล้าที่ลองทำสิ่งใหม่ ๆ
ซึ่งจะผลเสียต่อตัวเด็ก ใ น ร ะ ย ะ ย า ว ด้วยคำพูดเชิงลบแบบนี้จึงเป็นคำพูดที่ควรหลีกเลี่ยง ยิ่งกับพี่น้องในครอบครัวเดียวกันยิ่งไม่ควรนำมาเปรียบเทียบ ลองเปลี่ยนคำพูด
ด่าทอในเวลาเมื่อลูกทำผิดพลาดมาเป็นคำพูดที่ให้กำลังใจ และข้อแนะนำให้ลูกได้ลองทำ หรือตั้งใจทำให้ดียิ่งขึ้นกว่านี้จะดีกว่านะคะ
2.“ทำแบบนี้ไม่มีใครรักหรอก”
คำว่า “พ่อแม่ไม่รัก” เป็นคำพูดที่ บั่ น ท อ น จิ ต ใ จ ลูกเป็นที่สุด เด็กที่ได้ยินพ่อแม่พูดบ่อยว่าจะไม่รัก หรือไม่มีใครรัก นอกจากจะทำให้ลูกเสียใจมาก ยังทำให้เด็กรู้สึกไม่มั่นคง
กลัวว่าพ่อแม่ไม่รัก กลัวว่าพ่อแม่จะทิ้งไป ไม่สนใจ จนทำใหลูกไม่กล้าที่จะทำอย่างอื่นเพราะกลัวว่าถ้าทำไปแล้วไม่ดีพอ ไม่ถูกใจ พ่อแม่จะไม่รัก คำพูดนี้จะ ทำ ร้ า ย จิ ต ใ จ
ของลูกอย่างมาก ส่งผลกระทบต่อการมองเห็นคุณค่าของตัวเอง และเป็นปมด้อยของลธกไปจนโตได้ ดังนั้น ถึงแม้ว่าคนเป็นพ่อแม่จะรักลูกจริง ๆ ก็ตาม แต่คำพูดประชดประชันว่า
“ไม่รักลูก” ด้วยอารมณ์และความพลั้งปากของพ่อแม่นั้นจะกระทบความรู้สึกในจิตใจลูกเป็นอย่างมาก คำพูดแบบนี้ไม่ควรพูดกับลูกเลยนะคะ
3.“รอให้พ่อกลับมาก่อนเถอะ”
ถ้าคุณแม่ไม่สามารถจัดการกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของลูกได้ บางทีการนำคำขู่มาใช้เพื่อแสดงถึงอำนาจให้ลูกกลัว เช่น “จะให้พ่อจัดการให้เข็ด” “ถ้าพ่อรู้เมื่อไหร่โดนแน่” ฯลฯ
เมื่อขู่ด้วยประโยคเดิม ๆ ลูกก็จะรับรู้ได้ว่า นี่เป็นแค่คำขู่ และไม่มีอะไรเกิดขึ้น ผลที่ตามมาคือลูกก็จะไม่สนใจคำขู่อีกต่อไปก็เป็นได้
4.“หยุดร้องไห้เลยนะ”
เด็ก ๆ มักจะระบายออกทางความรู้สึกด้วยการร้องไห้ ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถบอกอารมณ์และความรู้สึกของตัวเองได้ดีมากกว่าคำพูด โดยเฉพาะในเด็กเล็ก เมื่อถูกคุณพ่อคุณแม่ดุ
หรืองอแงเอาแต่ใจตัวเอง การร้องไห้จึงเป็นวิธีช่วยป้องกันตัวจากความรู้สึกต่าง ๆ ได้ แต่การบอกให้ลูกหยุดร้องไห้ อาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีนัก เพราะการร้องไห้ของเด็กจะทำให้ลูก
รู้สึกปลอดโปร่ง และสบายใจขึ้น ดังนั้นหากเจ้าตัวเล็กกำลังเศร้าเสียใจ ไม่ควรไปบอกหรือห้ามเสียงดังว่าให้หยุดร้องไห้ แต่ควรมานั่งข้าง ๆ และโอบกอด แสดงความรัก
ยอมรับความรู้สึกของลูก และเปลี่ยนจากการดุด่าเป็นคำพูดปลอบด้วยน้ำเสียงอ่อนโยน เมื่อลูกหยุดร้องหรือระบายอารมณ์เรียบร้อยแล้ว จากนั้นค่อย ๆ สอนลูกและ
อธิบายเหตุผล มากกว่าการออกคำสั่งให้ลูกหยุดร้องไห้จะดีที่สุดค่ะ
5.“เด็กอะไรนิสัยไม่ดี”
เมื่อลูกทำผิดในเรื่องนั้น ๆ แต่กลับได้ยินคุณพ่อคุณแม่มาบอกว่า “นิสัยไม่ดี” อาจทำให้ลูกคิดว่าเป็นการตัดสินโดยภาพรวมมากกว่าสิ่งที่ทำผิดตรงหน้า ทั้งที่บางเรื่อง
อาจเป็นความผิดแค่เรื่องเพียงนิดเดียว คำพูดแบบนี้ก็จะสร้างผลกระทบต่อจิตใจลูกไม่น้อยเช่นกันค่ะ ดังนั้นเมื่อลูกทำผิดอย่า
พ ย า ย า ม ว่า “นิสัยไม่ดี” แต่ควรว่ากล่าว
เฉพาะเรื่อง และควรพูดชมเชยเมื่อลูกแสดงพฤติกรรมที่ดีนะคะ
6.”ทำเดี๋ยวนี้เลยนะ”
โดยธรรมชาติของเด็กมักจะไม่ชอบการถูกบังคับ การออกคำสั่งกับลูกบ่อย ๆ และบังคับให้ลูกทำทันที เด็กบางคนถ้าถูกออกคำสั่งเสียงดังก็อาจจะไม่ยอมทำตาม ดื้อต่อต้าน
เป็นผลทำให้พ่อแม่โมโหและใส่อารมณ์กับลูกมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ลูกเป็นเด็กก้าวร้าว ไม่เชื่อฟังคุณพ่อคุณแม่ตามมาได้ ดังนั้นแทนที่จะเป็นประโยคออกคำสั่ง
ควรเปลี่ยนคำพูดให้เป็นประโยคคำถามหรือเป็นการขอร้องให้ลูกช่วย เช่น “คนเก่งมาช่วยคุณแม่รองน้ำหน่อยได้ไหมคะ” หรือชวนลูกมาทำงานบ้านพร้อมกันมากกว่า
ตะโกนสั่งให้ลูกทำ เพื่อให้เด็ก ๆ ได้เห็นตัวอย่างและอยากทำด้วยตัวเองมากกว่าการถูกบังคับนะคะ
7.“หยุดเถียงเลยนะ”
เมื่อลูกโตขึ้น มีความคิดเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น การเจอลูกที่ว่านอนสอนง่ายเหมือนตอนเล็ก ๆ ไม่ใช่เรื่องหาได้ง่าย ๆ ของคุณพ่อคุณแม่อีกต่อไป บางครั้งที่พ่อแม่พูดไป
อาจจะเจอลูกแสดงความคิดเห็นกลับมา เมื่อคุณพ่อคุณแม่เจอประโยคที่ไม่เห็นด้วย การออกคำสั่งให้ลูก “หยุดเถียง” ไม่ใช่ทางออกที่ดี แต่ควรมีสติและเพิกเฉย
เพื่อไม่ให้เกิดการโต้เถียงทั้งสองฝ่าย เมื่ออารมณ์เย็นลงแล้วค่อยตามมาด้วยการฟังเหตุผลและคำแนะนำ
8.”จะไม่สนใจอีกต่อไป”
ถึงแม้การบอกให้ลูกทำอะไรซักอย่างในเรื่องเดิม ๆ นับสิบครั้งจะทำให้คุณพ่อคุณแม่รู้สึกหงุดหงิด จนบางครั้งส่งผลต่ออารมณ์และพลั้งปากพูดไปว่า “จะไม่สนใจลูก”
หากลูกไม่ยอมทำตามที่สอน คำพูดนี้จะส่งผลกระทบต่อจิตใจลูก ดังนั้นหากสิ่งที่บอกให้ลูกทำแต่ยังไม่ได้ผลดี คุณพ่อคุณแม่ลองปรับเปลี่ยนคำพูดใหม่ พ ย า ย า ม ใช้คำถาม
แบบเปิดให้มากขึ้นเพื่อจะได้รู้สาเหตุที่ลูกไม่อยากทำ เพื่อคุณพ่อคุณแม่จะได้ช่วยกันหาทางออกมากกว่าใช้คำพูดที่ไม่ควรพูดกับลูกนะคะ
9.”ทำไมสู้เด็กบ้านอื่นไม่ได้”
ถึงแม้คุณพ่อคุณแม่จะเข้าใจว่าเด็กแต่ละคนมีความสามารถที่แตกต่างกัน และเราไม่ควรนำลูกไปเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น แต่เวลาโมโหอาจจะมีการพลั้งคำพูดที่
ทำ ร้ า ย ลู ก และเป็นการสร้างความกดดันให้กับลูกได้ ทำให้ลูกรู้สึกอยากเป็นเหมือนคนอื่น ลดความรักในตัวเองลง เพื่อให้พ่อแม่จะได้ชื่นชม ถ้าไม่อยากให้ลูกลด
คุณค่าของตัวเอง คุณพ่อคุณแม่ควรเปลี่ยนคำพูดเปรียบเทียบเป็นการให้กำลังใจกับสิ่งที่ลูกกำลังทำอยู่ ส่งเสริมความสามารถที่ลูกถนัด และที่สำคัญคือการไม่เปรียบเทียบ
ลูกคนหนึ่งกับลูกอีกคนหรือลูกของคนอื่นนะคะ
จะเห็นได้ว่า พ่อแม่เองคือบุคคลที่มีอิทธิพลต่ออารมณ์ความรู้สึกของลูกมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นคำพูดหรือการกระทำ ดังนั้นก่อนที่คุณพ่อคุณแม่จะเริ่มตักเตือนเจ้าตัวเล็ก
ควรปรับอารมณ์ตัวเองให้ดี และเข้าใจลูกว่าความผิดพลาดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้ในบางเรื่องหรือพฤติกรรมที่เอาแต่ใจตัวเองนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้สำหรับเด็ก ๆ
และเป็นประสบการณ์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ทั้งนี้นอกจากปรับเปลี่ยนคำพูดสอนลูก พร้อมการใช้บทสนทนาในเชิงบวกแล้ว ยังควรมองให้เห็นถึงศักยภาพในตัวลูกว่า
มีความสามารถในด้านไหนเพื่อสนับสนุนในสิ่งที่ลูกชอบ มอบความรัก ความเอาใจใส่มากกว่าการดุด่าและทำให้ลูกกลัว เพื่อนำไปสู่พัฒนาการที่ดีและทำให้ลูกเติบโตอย่างมีความสุขนะคะ.
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก verywellfamily , sanook